หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

https://youtu.be/JsHWXliG6AA

1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

SCARA หรือ Selective Compliance Assembly Robot Arm เป็นหุ่นยนต์ที่มีการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด โดยหุ่นยนต์ SCARA จะสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูง จึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่ต้องการความรวดเร็วในการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) งานตรวจสอบ (Inspection) และงานบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

ข้อดี1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว

     2. มีความแม่นยำสูง

ข้อเสีย 1. มีพื้นที่ทำงานที่จำกัด

2. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก

2. หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

https://youtu.be/nHVrnRkeyAY
หุ่นยนต์หยิบจับชิ้นงาน (Material Handling) เป็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการหยิบจับชิ้นงาน และเคลื่อนย้ายสิ่งของในกระบวนการผลิต โดยสามารถเปลี่ยนส่วนข้อมือจับได้หลากหลายตามความต้องการในการทำงาน

ข้อดีของหุ่นยนต์หยิบจับชิ้นงานในกระบวนการผลิตคือ ช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดขึ้นกับคนทำงานในการผลิตบางชนิด เช่น การผลิตสารเคมี วัตถุอันตราย

ในบางอุตสาหกรรมที่มีการผลิตชิ้นส่วนหรือสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งต้องใช้คนทำงานจำนวนมากในการเคลื่อนย้าย แต่หุ่นยนต์สามารถจัดการเคลื่อนย้ายสินค้านั้นได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยให้เพิ่มกำลังการผลิตได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้กำลังคน

3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด


https://youtu.be/kSwXxAOWf6w

    หลักการทำงานของหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆอุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย

อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ 

อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล 

อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)

 4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ

https://youtu.be/aWeoNstIjxA
เป็ปเปอร์ คือ หุ่นยนต์สารพัดประโยชน์ ที่สามารถแสดงอารมณ์ทางสีหน้าได้ จัดจำหน่ายโดยบริษัทซอฟต์แบงก์ โรโบติกส์ คอร์ป บริษัทผู้ผลิตในญี่ปุ่น ในราคาตัวละ 198,000 เยน หรือประมาณตัวละ 53,000 บาท ซึ่งผู้ซื้อจะต้องเสียค่าบริการผู้ซื้อจะต้องเสียค่าบริการรายเดือนในการอัพเดตซอฟต์แวร์ เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตคนเราเข้าไปทุกที ตัวช่วยที่น่าสนใจ ที่ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นอย่างเจ้าหุ่นยนต์ ก็เป็นอะไรที่ฮิตฮอตขึ้นมาทันที “เป็ปเปอร์” คือหนึ่งในหุ่นยนต์สารพัดประโยชน์ที่หลายคนอยากมี

ครอบครอง 



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม